Lydra Gratton ได้ให้ทัศนะใน MIT Sloan Management Review ว่าเมื่อเทคโนโนโลยีเข้ามามีบทบาทและเริ่มครอบครองโลกมากขึ้น บทบาทของผู้จัดการ (manager) จะเปลี่ยนไป โดนสิ่งที่เปลี่ยนไปจะมี 4 อย่างคือ (ผมขออธิบายโดยสอดแทรกสำนวนและความคิดของตนลงไปบางส่วน):
บทบาทหลักของผู้จัดการคือบทบาทการเป็นผู้ประสานงาน หรือผู้สานประโยชน์ (coordinator) ของคนกลุ่มต่างๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่บทบาทนี้จะมีแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น การนำเทคโนโลยี ระบบการทำงานอัตโนมัติ เข้ามาใช้และช่วยตัดสินใจในองค์กรดูเสมือนจะลดบทบาทของผู้จัดการและทำให้หน้าที่ของผู้จัดการเริ่มไม่ชัดเจน คำถามท้ายสุดคือ หากระบบอัตโนมัติตัดสินใจได้ดีเท่ากับ หรือดีกว่ามนุษย์ ทำไมองค์กรจะต้องมีผู้จัดการที่เป็นมนุษย์?
ความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายกับลูกน้องจะเปลี่ยนไป เดิมทีผู้จัดการจะดูแลลูกน้องเสมือนพ่อแม่ดูแลลูก (parent-to-child) ผู้จัดการมีหน้าที่ต้องดูแล “เด็กๆ” ของตนให้ดำเนินไปตามเป้าหมายและกฎระเบียบขององค์กร ความสัมพันธ์แบบนี้กำลังจะเปลี่ยนไปเป็นแบบผู้ใหญ่กับผู้ใหญ่ หรือเพื่อนร่วมงาน (adult-to-adult) การดุด่าว่ากล่าวตักเตือนแบบพ่อแม่ลูกอาจไม่เป็นที่ยอมรับในองค์กรอีกต่อไป แต่การโค้ชชิ่ง (coaching) จะมีบทบาทมากขึ้น และเป็นเครื่องมือหลักในการชี้นำผู้ใต้บังคับบัญชา และช่วยพัฒนาความสามารถให้แกผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้จัดการจะไม่ใช่ผู้ที่จ้องจับผิดลูกน้องอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นผู้ที่ชี้แนะลูกน้อง
เทคโนโลยีจะมีบทบาทอย่างกว้างขวางในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นในแนวตั้งหรือในแนวนอน ลูกน้องสามารถเรียนรู้พัฒนาได้จากเพื่อนร่วมงาน และได้รับคำชี้แนะชี้นำจากเพื่อนร่วมงาน (peer-to-peer) โปรแกรมประเภท social media สามารถใช้รวมหมู่ สร้างกลุ่ม ก๊ก เหล่า และฐานอำนาจในองค์กร ทำให้กลุ่มเหล่านั้นมีอำนาจคัดคานกับผู้จัดการได้ไม่ยาก อำนาจจึงไม่จำเป็นต้องมาจากการมีตำแหน่ง “ผู้จัดการ” เสมอไป แต่มาจากการรวมกลุ่ม หรือเป็นหัวหน้ากลุ่มอย่างไม่เป็นทางการในองค์กร