ชีวิตอยากมีทางเลือกต้องมีมากกว่าหนึ่งอาชีพ

ชีวิตยุคใหม่ต้องมีมากกว่าหนึ่งอาชีพเพื่อเพิ่มความท้าท้าย และแหล่งรายได้ใหักับตนเอง ทนายบางคนอาจจะมีความฝันอยากทำงานด้านวิศวะกรรม นักเขียนอาจจะอยากเป็นสถาปนิก หรือแม้กระทั่งอาจารย์สอนคณะบริหารธุรกิจอย่าผมก็อยากเป็นโปรแกรมเมอร์ แต่เมื่อทำงานไปนานเข้า อายุเริ่มมากขึ้น ความคิดที่จะเปลี่ยนงาน หรือการล่าตามฝันของตนเองเหมือนจะถดถอยไปเรื่อยๆ ความคิดที่แทรกเป็นระยะก็คือต้องรอให้เกษียณก่อนค่อยไปตามหาฝัน หรือถ้าอยากไปทางลัดกว่านั้นก็คือถ้าโดนไล่ออก ก็จะได้เปลี่ยนอาชีพเร็วขึ้น

Kabir Sehgal ได้เขียนไว้ใน Harvard Business Review ออนไลน์ว่าแท้จริงแล้วทุกๆคนควรจะมีอาชีพมากกว่าหนึ่งอาชีพอยู่แล้ว และการมีอาชีพที่สองก็ไม่ได้หมายความว่าต้องทิ้งงานแรกไป เราสามารถมีอาชีพทมากกว่าหนึ่งอาชีพขนานกันไปได้ Kabir ก็มีอาชีพถึง 4 อาชีพเวลาเดียวกัน เขามีอาชีพเป็นนักวางแผนกุลยุทธ์ให้กับองค์การ เป็นนักเขียน เป็นทหารเรือ และเป็นโปรดิวเซอร์เพลงไปในเวลาเดียวกัน แต่คำถามสำคัญที่ตามมาก็คือ คนเราจะมีเวลามากขนาดนั้นเลยหรือ มากพอที่จะทำหลายๆอย่างที่เราฝันไว้ เราจะหาเวลาจากไหนมาทำสิ่งเหล่านั้น Kabir มีคำตอบง่ายๆก็คือ “make time” แปลง่ายๆว่าถ้าไม่มีเวลาก็ทำให้มีซิ! คำถามถัดมาก็คือเราจำเป็นแค่ไหนที่ต้องมีอาชีพมากกว่าหนึ่งอย่าง คำตอบง่ายๆก็คือการมีอาชีพที่หลากหลายนั้นทำให้เราสามารถทำอาชีพแต่ละอันได้ดีขึ้น

สำหรับ Kabir การที่เขาเป็นโปรดิวเซอร์เพลงแจ๊ส ทำให้เขาสามารถพาลูกค้าขององค์กรที่เขาเป็นนักกลยุทธ์อยู่ไปพบกับประสบการณ์ใหม่ๆในห้องอัด ทำให้การพูดคุยไม่น่าเบื่อและยังเป็นการสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า นอกจากนี้การเป็นโปรดิวเซอร์ทำให้ Kabir ได้พัฒนาทักษะหลายๆด้าน เช่น การวางวิสัยทัศน์ การรับคนเข้าทำงาน การวางแผนโครงการ การรักษาเวลา การหาเงินทุน และการวางตลาดสินค้า แม้ว่าการเป็นโปรดิวเซอร์จะไม่ได้ทำเงินมากนัก แต่งานนี้ทำให้เขาได้พบกับความสำเร็จในชีวิตด้านอื่นๆที่งานอื่นไม่สามารถจะให้ได้

การทำงานอยู่หลายวงการทำให้ Kabir มีเพื่อนที่มีความคิดหลากหลาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการพัฒนาความคิดในเชิงนวัตกรรม สิ่งที่อันตรายที่สุดสำหรับนวัตกรรมคือความคิดที่ เออออ ไปด้วยกันทั้งหมดอย่างที่ฝรั่งเรียกว่า “group think” เมื่อทุกคนเห็นไปในทางเดียวกันหมด หรือ มีมติไปในทางเดียวกันเพราะเป็นคนที่มาจากวงการเดียวกัน ความคิดเห็นมักจะฉ้อฉล (หรือมีอคติ) เพราะผู้ที่คิดมีประสบการณ์ และวิธีการคิดคล้ายกัน นอกจากนี้การมีเพื่อนในหลายวงการเป็นการสร้างเครือข่ายที่ดี การขยายเครือข่ายข้ามวงการ หรือ การนำคนต่างวงการมาพบปะกับกลับเป็นเสน่ห์ต่อการทำงาน แต่ละคนที่อยู่ต่างเครือข่ายกันอาจจะมีส่วนช่วย “เติมเต็ม” หรือ สร้างคุณค่าระหว่างกันได้อย่างที่เราไม่เคยได้คิดถึงมาก่อน

การทำงานหลายอาชีพ จะทำให้เรามีความคิดหลากหลาย และจะทำให้เรามองเห็นได้ว่าแต่ละความคิดนั้น ท้ายที่สุดแล้วสามารถปฏิสัมพันธ์กันได้อย่างไร

สตีป จ๊อบ กล่าวว่า “It’s technolgy married with liberal arts, married with the humanities, that yields us the result that makes our heart sing” — เมื่อเทคโนโลยีได้พบศิลปศาสตร์และผสานกับความเป็นมนุษย์ ผลลัพธ์ที่ได้จะทำให้หัวใจเราชุ่มชื่น